วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาของเขตดินแดง


ประวัติความเป็นมาของเขตดินแดง

ที่ตั้งและอาณาเขต

        จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุซึ่งเป็นคนท้องที่เขตดินแดงโดยกำเนิด ได้เล่าถึงตำนานความเป็นมาของเขตดินแดงว่า เดิมพื้นที่เขตดินแดงส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งนา ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการสร้างทางด้วยดินลูกรังจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อรถวิ่งผ่านจึงเกิดจึงเกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว ป่ระชาชนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนดินแดง เนื่องจากถนนสายนี้อยู่ในพื้นที่เขตดินแดง และเป็นถนนสายหลักที่ประชาชนใช้สัญจรในสมัยนั้น จึงได้ตั้งชื่อเขตให้สอดคล้องกับพื้นที่เดิมที่เรียกขานกันจนติดปากว่า เขตดินแดง

พื้นที่เขตดินแดง เดิมเป็นแขวงหนึ่งของเขตพญาไท ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท ห้วยขวางและบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2521 ได้โอนพื้นที่แขวงดินแดงของเขตพญาไทมาขึ้นกับเขตห้วยขวาง โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2525 จนถึง พ.ศ.2532 กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งสำนักงานเขตห้วยขวาง สาขาดินแดงขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ในการติดต่อราชการและต่อมาผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่าเขตห้วยขวาง เขตพญาไท และเขตราชเทวี  มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขตทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางมาติดต่อราชการที่ที่สำนักงานเขต ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารการปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการเสนอตั้งสำนักงานเขตดินแดงไปยังกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศฉบับลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2536 จัดตั้งสำนักงานเขตดินแดงขึ้นโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2537 เป็นต้นไป

เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
            ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต      ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
            ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราชเทวี มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
            ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพญาไท มีถนนวิภาวดีรังสิตเป็นเส้นแบ่งเขต

2 ความคิดเห็น:

Popular Posts